วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559


Typeface vs Font

Typeface คือแบบของตัวอักษร ที่ออกแบบหรือคิดค้นขึ้นมาโดย “นักออกแบบตัวอักษร”  ซึ่งในแต่ละ typeface จะมี shape ที่แตกต่างกันออกไป ส่วน Font นั้นเป็นเพียง “รูปแบบ” หรือ “ลักษณะ” หนึ่ง ของ typeface ตัวอย่างเช่น “Helvetica Bold Condensed Italic” เป็นคนละ font กับ “Helvetica Condensed Italic” และ “Helvetica Bold Condensed” แต่ทั้ง 3 fonts นั้น ถือว่าอยู่ใน typeface เดียวกัน ซึ่งก็คือ “Helvetica”
พูดง่ายๆ ก็คือ typeface หมายถึง กลุ่มของ fonts ต่างๆ ที่มี design เหมือนกัน แต่ต่างกันในแง่ของ “ความหนา”, “ความกว้าง” และ “ความเอียง” นั่นเอง


ที่มาของคำว่า “Font”

หลายๆ คนอาจสงสัยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้ บางคนอาจเข้าใจมาตลอดว่า font คือ แบบของตัวอักษร(Typeface) ถ้าอยากหายสงสัยต้องไปศึกษาที่มาของมันครับ “font” มาจากคำว่า “fount” ซึ่งแปลว่า “สิ่งที่ถูกหลอม” ในสมัยก่อน การจะพิมพ์ตัวหนังสือลงไปบนอะไรสักอย่างจะต้องใช้ “ตัวพิมพ์” ซึ่งมักจะสร้างมาจากโลหะที่เอามาหลอมลงในแม่พิมพ์ ซึ่งหมายความว่า หากเราอยากได้ตัวหนา ตัวกว้าง ตัวเอียง หรือแม้แต่ตัวขนาดใหญ่ขึ้น เราจำเป็นจะต้องสร้าง “ตัวพิมพ์” ขึ้นมาใหม่ เพื่อมารองรับตัวอักษรแบบนั้นๆ โดยเฉพาะ และนี่เอง ที่ทำให้เราเรียก “รูปแบบ” ของตัวอักษรที่แตกต่างกันว่า “font” แต่ในปัจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนจากยุคของโลหะมาเป็นยุค digital ทำให้ขนาดของตัวอักษรนั้นสามารถเพิ่มหรือลดได้โดยง่าย นิยามของคำว่า “font” จึงเปลี่ยนไปเล็กน้อย เหลือแค่ความต่างกันในด้านของ ความหนา ความกว้าง และ ความเอียง เท่านั้น

                                    Font หรือ “Fount” ในสมัยก่อนทำมาจากโลหะหรือไม้

รู้จักกับ Glyph ใน Typeface

ขึ้นชื่อว่าเป็น typeface จะต้องมี “Glyph” เพราะมันก็คือ “อักขระ” ที่ใช้แทน ตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมาย รวมไปถึงสัญลักษณ์ต่างๆ นั่นเอง บาง typeface อาจรองรับหลายภาษาด้วยกัน จึงทำให้มี glyph อยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีกระบวนการ “Subsetting” เกิดขึ้นมา ซึ่งก็คือการตัด glyph ที่เราไม่ต้องการออก เพื่อลดขนาดของ font file ให้เล็กลงนั่นเอง

Typeface แบบ Serif กับ Sans-Serif ต่างกันอย่างไร?

เชื่อว่าหลายๆ คน คงเคยได้ยินคำว่า “Serif” กันมาตั้งแต่เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ แต่คงมีคนจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่รู้ความหมายของมัน คำว่า “Serif” ก็คือ “การเล่นหาง” นั่นเองครับ typeface ใดก็ตามที่เป็นแบบ serif ก็หมายความว่า ทุกๆ glyph จะมีการตวัดหาง ไม่ได้จบแบบห้วนๆ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับ typeface แบบ “Sans-serif” ที่จะไม่มีการเล่นหางใดๆ ทั้งสิ้น (คำว่า “sans” มาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งแปลว่า “ไม่มี”)

จากการสำรวจ พบว่า typeface แบบ serif นั้นจะอ่านได้ง่ายกว่าหากใช้กับข้อความยาวๆ ซึ่งนี้เอง เป็นสาเหตุที่สื่อสิ่งพิมพ์นิยมใช้ typeface แบบนี้ อย่างไรก็ตาม การใช้ typeface แบบ sans-serif กลับได้รับความนิยมมากกว่าบนเว็บไซต์ เนื่องจากการเล่นหางของ serif นั้น อาจทำให้อ่านได้ยากขึ้น หากดูด้วยหน้าจอที่มีความละเอียดไม่สูงนัก

รู้จักกับ Typeface แบบ Proportional และ Monospaced

typeface แบบ “Proportional” จะมีความกว้างของ glyph ที่แตกต่างกันออกไป เช่น glyph ที่ใช้แทนตัว “i” กับ “w” จะมีความกว้างไม่เท่ากัน ตรงข้ามกับ typeface แบบ “Monospaced” ซึ่งแต่ละ glyph จะมีความกว้างเท่ากันเสมอ
โดย ทั่วไปแล้ว typeface แบบ proportional นั้นจะดูสวยงาม และอ่านง่ายกว่า ซึ่งเรามักจะพบเห็น typeface แบบนี้ได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ รวมไปถึง GUI ของ application ต่างๆ
แต่ typeface แบบ monospaced ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีเลย ด้วยลักษณะที่ทุกๆ glyph มีความกว้างเท่ากันหมด จึงนิยมนำ typeface แบบนี้มาใช้กับ เครื่องพิมพ์ดีด, หน้าจอที่แสดงผลได้เฉพาะตัวอักษร(เช่น นาฬิกาดิจิตอล) รวมไปถึง หน้าจอ Terminal เป็นต้น


ว่าด้วยเรื่อง Typography ในเชิงเบื้องต้น

Typography (ไท-ผะ-กรา-ฟิ) หรือที่คนไทยเรียกว่า "ไทโปกราฟี้" นั้น แน่นอนว่ามันเป็นรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษซึ่งแปลตรงตัวว่า วิชาตัวพิมพ์วิชาการทำตัวพิมพ์ เป็นต้น โดยจะมีชื่อวิชาที่ใกล้เคียงและมีความเกี่ยวข้องกันบางบริบทที่ชื่อว่า Calligraphy ซึ่งแปลว่าวิชาประดิษฐ์ตัวอักษร แต่ในส่วนของคำหลังนั้นมีความหมายหนักออกไปในเชิงการประดิษฐ์ตัวอักษรโดยใช้ส่วนของลายมือเป็นหลัก เป็นส่วนที่ค่อนข้างแตกต่างไปจากคำข้างต้น ที่เน้นไปทางด้านศาสตร์และศิลป์ของตัวอักษรเสียมากกว่า

 alphabet คือ???

อักษร (alphabet) คือ สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย สำหรับใช้แทนหน่วยเสียง ในภาษาหนึ่งๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ"
อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์ หรือคำ ก็ได้ เช่น อักษรจีน หรือตัวหนังสือจีน (นักวิชาการบางสำนักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีน เป็น "อักษร" ตามนิยามของคำว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่เรียกว่า ideogram คือสัญลักษณ์แทนคำ หรือหน่วยคำ)
แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตำราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และการใช้อักษรอย่างถูกต้อง
อักษรอาจใช้สำหรับภาษาหนึ่ง ๆ หรือใช้กับหลายภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คำว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆ หลายภาษาในยุโรป โดยมีการดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้น รวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร) เป็นต้น
มีหลายประเทศใช้อักษรที่แตกต่างกันตามเวลาเช่น อักษรในสมัยโบราณ เมื่อเวลาผ่านไป ก็เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นอักษรปัจจุบัน หรือเปลี่ยนไปใช้อักษรชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง


Character คือ??

Character  หรือ อักขระ
หมายถึง ตัวอักขระหรือสัญลักษณ์อะไรก็ตามที่พิมพ์ได้จากแป้นพิมพ์ เช่นตัวอักษร (A, B, C, D..) ตัวเลข ( 1, 2, 3.... ) เครื่องหมายต่าง ๆ เช่น หรือ หรือ-หรือ หรือแม้แต่ช่องว่าง (blank) ก็ถือว่าเป็นตัวอักขระตัวหนึ่งด้วย


บทสรุปของ Typeface vs Font

Typeface คือแบบอักษรที่ Designer ได้ออกแบบขึ้นมา ส่วน Font คือ Typeface ที่มีความต่างกันในเรื่องของความหนา ความกว้าง และความเอียง
ศึกษาจาก ช่องทางใน youtube  ของ prachid  tinnabutr

ศึกษาเพิ่มเติมจาก ช่องทาง youtube ของ Prachid Tinnabutr